ทิศทางการส่งข้อมูล (Transmission Mode)


 การส่งข้อมูลของระบบคอมพิวเตอร์ สามารถจำแนกทิศทางการส่งข้อมูลได้เป็น 3 รูปแบบ ดังนี้

1.  การส่งข้อมูลแบบทิศทางเดียว (Simplex transmission)
เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีผู้ส่งข้อมูลทำหน้าที่เพียงอย่างเดียว และผู้รับข้อมูลก็ทำหน้าที่รับข้อมูลเพียงอย่างเดียวด้วยเช่นกัน การส่งข้อมูลในลักษณะนี้ เช่นการส่งสัญญาณของสถานีโทรทัศน์ไปยังเครื่องโทรทัศน์ โดยที่สถานีส่งสัญญาณโทรทัศน์จะทำหน้าที่ส่งสัญญาณเท่านั้น และเครื่องรับโทรทัศน์จะทำหน้าที่รับสัญญาณเท่านั้นเช่นกัน


2. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางสลับกัน (Half-duplex transmission)
เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีการเปลี่ยนข้อมูลของผู้รับและผู้ส่ง โดยแต่ละฝ่ายสามารถเป็นทั้งผู้ส่งและผู้รับข้อมูล แต่จะต้องสลับกันทำหน้าที่เป็นผู้ส่งข้อมูล จะเป็นผู้ส่งข้อมูลพร้อมกันทั้งสองฝ่ายไม่ได้ ลักษณะการส่งข้อมูลประเภทนี้ เช่นการสื่อสารโดยใช้วิทยุสื่อสาร ซึ่งผู้ที่จะส่งข้อมูลทั้งสองฝ่ายไม่ได้ ลักษณะการส่งข้อมูลประเภทนี้ เช่นการสื่อสารโดยใช้วิทยุสื่อสาร ซึ่งผู้ที่จะส่งข้อมูลต้องกดปุ่มเพื่อส่งข้อมูล ในขณะนั้นผู้อื่นจะเป็นผู้รับข้อมูล



3. การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน (Full-duplex transmission)
เป็นการสื่อสารข้อมูลที่มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลของทั้งผู้ส่งและผู้รับข้อมูล  โดยทั้งสองฝ่าย
           สามารถเป็นผู้รับและผู้ส่งข้อมูลในเวลาเดียวกัน และสามารถส่งข้อมูลได้พร้อมกันลักษณะการส่ง            ข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน เช่นการสื่อสารโดยใช้โทรศัพท์ ซึ่งทั้งสองฝ่ายสามารถพูดพร้อม            กันได้ในเวลาเดียวกัน 
   



          โดยปกติการสื่อสารข้อมูลส่วนใหญ่จะไม่ใช่การส่งข้อมูลแบบสองทิศทางพร้อมกัน ตัวอย่างเช่น การใช้โทรศัพท์ ถึงแม้ว่าจะสามารถส่งข้อมูลได้สองทิศทางพร้อมกัน แต่เวลาพูดยังคงต้องสลับกันพูด หรือการสื่อสารระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งดูเหมือนว่าจะเป็นสองทิศทางพร้อมกัน แต่ในความเป็นจริงแล้วเป็นการส่งข้อมูลแบบสลับกัน ซึ่งเวลาที่สลับกันนี้อาจจะใช้ช่วงเวลาที่เร็วมาก จึงดูเหมือนว่าเป็นการสื่อสารสองทิศทางพร้อมกัน 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น