การเชื่อมต่อการสื่อสารข้อมูลคอมพิวเตอร์หลาย
ๆ
คนเข้าใจว่าคือการต่อสายสื่อสารจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งโดยตรงเท่านั้น
ซึ่งที่แท้จริงแล้วเราสามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์หลาย ๆ เครื่องได้พร้อมกัน
เป็นกลุ่มหรือเป็นเครือข่ายเดียวกันได้ เพื่อจะสามารถใช้ข้อมูลร่วมกัน
หรือใช้ส่ง-รับข้อมูลซึ่งกันและกันได้ รูปแบบการเชื่อมโยงการสื่อสารข้อมูล
มีดังนี้
1. การเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุด
(Point – to – Point)
เป็นการเชื่อมโยงระหว่างเทอร์มินอลหรือเครื่องคอมพิวเตอร์เพียง
2 เครื่อง
โดยผ่านทางสายสื่อสารเพียงสายเดียวและความยาวของสายไม่จำกัดสามารถส่งสัญญาณข้อมูลได้ไม่ว่าจะเป็นแบบ
simple duplex หรือ Half Duplex หรือ Full
Duplex ก็ได้ และสามารถส่งสัญญาณได้ทั้งแบบซิงโครนัสและอะชิงโครนัส
สายสื่อสารจะถูกการจองการส่งข้อมูลอยู่ตลอดเวลา (Lease Line ) ดังนั้นการเชื่อมต่อแบบจุดต่อจุดจึงเหมาะสมกับงานที่มีการรับส่งข้อมูลๆ
และต่อเนื่อง เช่น การเช่าสายโทรศัพท์ เพื่อใช้ในระบบ ATM
2. การเชื่อมโยงแบบหลายจุด
(Multipoint or Multidrop)
เนื่องจากการเชื่อมโยงแบบจุดต่อจุดนั้นสิ้นเปลืองสายสื่อสารมากเกินไป
และในการส่งข้อมูล ส่วนใหญ่มักใช้งานไม่เต็มประสิทธิภาพของสายสื่อสาร
แบบการเชื่อมโยงที่คุ้มค่ากว่าคือการใช้สายสื่อสารเพียงสายเดียว
แต่สามารถเชื่อมโยงกับเทอร์มินอลได้หลาย ๆ เครื่อง หรือหลาย ๆ จุดเทอร์มินอล
รูปการเชื่อมโยงแบบหลายจุดแต่ละเทอร์มินอลที่ต่อเข้ากับสายสื่อสารมักจะมีบัฟเฟอร์สำหรับกักเก็บข้อมูลไว้ให้ได้มากที่สุดก่อนทำการส่งข้อมูลออกไป เพื่อจะได้ใช้ประสิทธิภาพของสายสื่อสายได้เต็มที่ และในขณะที่ยังไม่มีการส่งข้อมูลสามารถเปิดโอกาสให้ผู้อื่นใช้สายสื่อสารได้ ในกรณีถ้าแต่ละเทอร์มินอลส่งข้อมูลออกมาพร้อมกัน ข้อมูลจะชนกันทำให้เกิดความเสียหายแก่ข้อมูลได้ จึงจำเป็นต้องมีศูนย์กลางควบคุมเพื่อจัดการควบคุมทิศทางการไหลของข้อมูล
รูปการเชื่อมโยงแบบหลายจุดแต่ละเทอร์มินอลที่ต่อเข้ากับสายสื่อสารมักจะมีบัฟเฟอร์สำหรับกักเก็บข้อมูลไว้ให้ได้มากที่สุดก่อนทำการส่งข้อมูลออกไป เพื่อจะได้ใช้ประสิทธิภาพของสายสื่อสายได้เต็มที่ และในขณะที่ยังไม่มีการส่งข้อมูลสามารถเปิดโอกาสให้ผู้อื่นใช้สายสื่อสารได้ ในกรณีถ้าแต่ละเทอร์มินอลส่งข้อมูลออกมาพร้อมกัน ข้อมูลจะชนกันทำให้เกิดความเสียหายแก่ข้อมูลได้ จึงจำเป็นต้องมีศูนย์กลางควบคุมเพื่อจัดการควบคุมทิศทางการไหลของข้อมูล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น