การสื่อสารข้อมูลทางอิเล็กทรอนิคส์
โดยทั่วไปจะทำงานได้เมื่อมีองค์ประกอบต่างๆ ที่สำคัญดังนี้
1. ผู้ส่งหรืออุปกรณ์ส่งข้อมูล (sender) คือ
สิ่งที่ทำหน้าที่ส่งข้อมูลไปยังจุดหมายที่ต้องการข้อมูลต่างๆ
ที่อยู่ต้นทางจะต้องจัดเตรียมนำเข้าสู่อุปกรณ์สำหรับส่งข้อมูล ได้แก่
เครื่องพิมพ์หรืออุปกรณ์ควบคุมต่างๆ จานไมโครเวฟ จานดาวเทียม
ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะถูกเปลี่ยนให้อยู่ในรูปแบบที่สามารถส่งข้อมูลนั้นได้ก่อน
2.
ผู้รับหรืออุปกรณ์รับข้อมูล (Receiver) คือ
สิ่งที่ทำหน้าที่รับข้อมูลที่ถูกส่งมาให้
ข้อมูลที่ถูกส่งจากอุปกรณ์ส่งข้อมูลต้นทาง
เมื่อไปถึงปลายทางก็จะมีอุปกรณ์สำหรับรับข้อมูลเหล่านั้นเพื่อนำข้อมูลไปใช้ประโยชน์ต่อไป
อุปกรณ์เหล่านี้ได้แก่ เครื่องพิมพ์ คอมพิวเตอร์ จานดาวเทียม เป็นต้น
3.
ข้อมูล (data) คือ ข้อมูลที่ผู้ส่งข้อมูลต้องการส่งไปยังผู้รับข้อมูล
ข้อมูลอาจอยู่ในรูปของข้อความ รูปภาพ เสียง
4.
สื่อนำข้อมูล (Medium) คือ
สิ่งที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการขนถ่ายข้อมูลจากผู้ส่งข้อมูลไปยังผู้รับข้อมูล
เช่น สายไฟ ขดลวด สายเคเบิล
สายใยแก้วนำแสง อากาศ เป็นต้น
5.
โปรโตคอล (Protocol) คือ กฎหรือวิธีที่กำหนดขึ้นเพื่อการสื่อสารข้อมูล ซึ่งผู้ส่งข้อมูลจะต้องส่งข้อมูลในรูปแบบตามวิธีการสื่อสารที่ตกลงไว้กับผู้รับข้อมูล
จึงจะสามารถสื่อสารข้อมูลกันได้ ซึ่งมีหลายชนิดให้เลือกใช้ เช่น TCP/IP ,
X.25 , SDLC
6.ซอฟแวร์ (Software) คือ
การส่งข้อมูลผ่านคอมพิวเตอร์จำเป็นต้องมีโปรแกรมสำหรับดำเนินการ
และควบคุมการส่งข้อมูลเพื่อให้เลือกใช้ ข้อมูลตามที่กำหนดไว้ ได้แก่ Netware ,
UNIX,Windows NT เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น